พิธีชงชาและเครื่องรางญี่ปุ่น ความเหมือนที่แตกต่างกัน
พิธีชงชาหรือซาโดะ จะเป็นเพียงการดื่มชาธรรมดาหรือเป็นพิธีที่มีความพิถีพิถันนั้น ไม่มีถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับมุมมองของคุณ ซึ่งกลุ่มแรกมองว่า การชงขาก็แค่การชงชาแล้วนำมาดื่ม และเพื่อเป็นเครื่องดืมของญี่ปุ่น และดื่มเพื่อสุขภาพ และความบันเทิงใจ ความรื่นรมใจ ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างออกไป และอีกส่วนหนึ่ง มองออกไปว่า พิธีชงชา เป็นวัฒนธรรม ธรรมเนียม และศิลปะ ที่ไม่ธรรมดาของชาวญี่ปุ่น และมีจารีตอีกมากมายหลายอย่างที่ซ่อนอยู่ในนั้น ฉันไดก็ฉันนั้น เครื่องรางญีปุ่น ก็เช่นเดียว เครื่องรางญี่ปุ่น บางคนก็มองว่ามันเป็นเพียงกระแสนิยม และเป็นเพียงของทั่วๆไปที่หาซื้อกันได้ตามทั่วๆไป แต่ส่วนหนึ่งก็มองว่า นั่นคือของขลัง เป็นเครื่องราง และมีอีกหลายอย่าง ทั้งวัฒนธรรม ธรรมเนียม และความลับที่ซ่อน และเครื่องรางญี่ปุ่นในความหมายของฉันนั้น มันคือศิลปะด้วยเช่นกัน วันนี้ขอมาเล่าถึงเรื่องพิธีชงชาและศิลปะอื่นๆของญี่ปุ่น บางทีอาจทำให้คุณเริ่มมองในอีกมุมที่ต่างออกไป และบางอย่างคุณอาจจะยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำ
พิธีชงชา
ศิลปะการชงชาญี่ปุ่น ที่เรียกว่า ซาโดะ (Sadou) คำว่า “ชาโดะ” นั้นแปลว่า “วิถีแห่งชา” ชาวญี่ปุ่นที่อนุรักษ์ ให้เป็นมรดกของชาติ ศิลปะการชงชา ถือเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง โดยในเริ่มต้นเดิมทีที่ชาวญี่ปุ่นคิดขึ้นเพื่อดีต่อสุขภาพจริงเพียงเท่านั้น ภายหลังเกิดแนวความเชื่อเพิ่มเติม มาจากแนวปรัชญา “เซน (Zen)” เซน เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาพุทธที่ชาวญี่ปุ่นส่วนหนึ่งนับถือและมีมาแต่สมัยโบราณเช่นกัน นิกาย เซน นี้มีความสำคัญต่อสังคมญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เพราะสอดแทรกอยู่ในสังคมญี่ปุ่นแทบทุกหนแห่ง แม้ผู้ที่เชื่อว่าตนไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับนิกายนี้เลยก็ยังรับเอาอิทธิพลหลายอย่างของ เซน ไว้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งอย่างหนึ่งที่ชัดเจนก็คือศิลปะการชงชาญี่ปุ่นนี้เอง
มองในทางลึกมากกว่าทางกว้าง
ทุกสิ่งทุกอย่างว่าล้วนมีจิตวิญญาณ
หลักการสำคัญของ เซน อย่างหนึ่งก็คือการสอน ให้รู้จักมองในทางลึกมากกว่าทางกว้าง และให้มองทุกสิ่งทุกอย่างว่าล้วนมีจิตวิญญาณด้วยกันทั้งสิ้น จากหลักการของ เซน นี้เองที่ทำให้กิดค่านิยมในสังคมญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญอสิ่ง 3 สิ่ง คือ
ความสงบ ความกลมกลืน และ วินัย
และจากหลักการของเซน อีกเช่นกันจึงทำให้วัฒนธรรมการดื่มชาของชาวญี่ปุ่นจึงไม่ใช่เพียงแค่การมีเครื่องดื่มธรรมดา แต่มีไว้ด้วยความหมายต่างๆมากมาย ชาวญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญในทุกกระบวนการที่จะให้ได้มาซึ่งน้ำชารสเลิศสักถ้วยหนึ่ง ตั้งแต่ วิธีการปลูก การคัดเลือกใบชา การตาก การเก็บบ่มใบชา ไปจนถึงกรรมวิธีน การชงชาอย่างประณีตบรรจง หรือแม้แต่การจัดห้องเพื่อการดื่มชาโดยเฉพาะ
การเคารพต่อทุกสิ่ง
การให้ความสำคัญในกระบวนการชงชาเช่นนี้ถือเป็นการเคารพชา ที่คนญี่ปุ่น เชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่สวรรค์มอบแก่มวลมนุษย์ จึงให้การเคารพชา และทำให้การชงชาเป็นคล้ายพิธีกรรมอย่างหนึ่งมากกว่าตามประวัติบันทึกว่า วัฒนธรรมการดื่มชาของชาวญี่ปุ่นได้รับสืบทอกมาจากชาวจีนตั้งแต่ก่อนศตวรรษที่ 10 (พุทธศตวรรษที่15) แต่ชาวญี่บุนได้ประยุกต์วิธีการดื่มชาให้มีเอกลักษณ์เฉพาะแบบของชาวญี่ปุนเองในภายหลัง ซึ่งแตกต่างไปจากชาวจีน ใบชาที่ชาวญี่ปุ่นรับเอามาโดยตั้งแต่ยุค สมัย คามากูระ (Kamagนra) นั้นญี่ปุ่นได้ส่งทูตไปที่ประเทศจีน ซึ่งเวลานั้นตรงกับสมัยของ ราชวงศ์ซ่ง (Song Dynasty) ของจีน
อัญเชิญเซนมายังญี่ปุ่น
คณะที่เดินทางไปจีนครั้งนั้นมีพระภิกษุชื่อ เออิไซ (Eisai) เดินทางไปด้วย และเมื่อคณะทูตคณะนี้กลับถึงญี่ปุ่น พระภิกษุรูปนั้นก็ได้อัญเชิญพระพุทธศาสนานิกาย เซน กลับมา เผยแพร่ที่ญี่ปุ่นตัวย และยังนำเอาเมล็ดพันธุ์ชาจากจีนกลับมาปลูกที่ญี่ปุนอีก ด้วยเช่นกัน โดยชาที่นำกลับมาในครั้งนั้นพระนิกาย เชน ในประเทศจีนเป็นผู้มอบให้ ซึ่งพระภิกษุชน รูปนั้นหมายที่จะใช้ใบชานี้เป็นตัวแทนของพระพุทธศาสนานิกาย เช่น ให้หว่านเมล็ดพันธุ์ลงบนผืนแผ่นดินญี่ปุน การเกิดขึ้นของใบชาบนแผ่นดินญี่ปุ่นจึงเสมือนจุดเริ่มตันของพุทธศาสนานิกาย เซน ที่ได้เพิ่มเกิดขึ้นบนแผ่นดินญี่ปุ่นอีกด้วย
เมื่อพระภิกษุ เออิไซ ขยายมล็ตพันธุ์ชามากขึ้นก็จะแจกจ่ายให้คนนำไปปลูกตามที่ต่างๆจนกระจายออกไปเรื่อยๆ จนแพร่หลายไปทั่วทั้งเมืองเกี่ยวโตเมืองหลวงของญี่ปุ่นในเวลานั้น และนอกจากแมล็ดพันธุ์ชาแล้ว สิ่งที่พระภิกษุ เออิไซ ได้รับมาจกพระภิกษุชาวจีนอีกอย่าง ก็คือคำบอกเล่าว่าใบชาก็คือยาอายุวัฒนะ สิ่งนี้เองที่ทำให้ใครๆก็ต้องการที่จะได้พันธุ์ซาจากพระ เออิไซ นำไปปลูก จนทำให้ใบชาแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว และไม่นานจึงขยายไปสู่เมืองอื่นๆ เมื่อข่าวเรื่องใบชาเป็นยาอายุวัฒนะร่ำลือไปถึงหู มินาโมโตะ ชาเนะโตโมะ (Minamoto Sanetomo) ผู้ซึ่งเป็นโชกุนทรงอำนาจในเวลานั้น โชกุนจึงเข้ามาเป็นผู้ให้การสนับสนุนการปลูกชาอีกทางหนึ่ง นับแต่นั้นมาการดื่มชาก็กลายเป็นที่แพร่หลายกันไปทั่ว ทั้งในหมู่ชนชั้นสูงและประชาชนทั่วไป ชาจึงถือเป็นเครื่องดื่มที่มีความสำคัญต่อสังคมของชาวญี่ปุ่นมา
ยาอายุวัฒนะ
ตั้งแต่นั้นความเชื่อที่ว่าชาคือยาอายุวัฒนะนี้ มีส่วนสำคัญที่ทำให้ชาวญี่ปุนนิยมดื่มเครื่องดื่มชาในชีวิตประจำวัน แม้แต่ในปัจจุบันเรื่องยาอายุวัฒนะนี้จะเข้าใจกันดี และมีความเชื่อว่าชานั้นมีผลดีต่อสุขกาพ และกลายมาเป็นเครื่องดื่มเครื่องดื่มที่ทรงคุณค่าอย่างมากในสังคมญี่ปุ่น และจากการศึกษาและค้นคว้าภายหลัง ซึ่งมีเครื่องไม้เครื่องมือทดสอบที่ทันสมัยในภายหลัง พบว่ามีเป็นเรื่องการบำรุงร่างกายขึ้น จึงเป็นที่นิยมกันมาจนปัจจุบัน
ซึ่งความเชื่อเช่นนี้ของชาวญี่ปุ่นยังเข้มขันยิ่งกว่าชาวจีนที่เป็นผู้คิด ริเริ่มวัฒนธรรมการดื่มชาเสียอีก แม้ชาวจีนจะถือว่าการเลี้ยงน้ำชาแก่แขกผู้ที่ มาเยี่ยมเยียนเพื่อเป็นการให้เกียรติต่อแขก เพราะชาวจีนถือว่าการเลี้ยงน้ำชา เป็นการสร้างความพึงพอใจแก่กันด้วยเครื่องดื่มสุดวิเศษชนิดนี้แต่โบราณ แต่ ชาวจีนส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือนิกายเซน จึงไม่ได้เชื่อในปรัชญาแบบ เซน ที่เชื่อ ว่าใบชานั้นมีจิตวิญญาณเช่นที่ชาวญี่ปุ่นรับเข้ามาไว้ในสังคมของตนอย่างเต็มที่
ตัวอย่างหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่เชื่อและให้เกียรติต่อการดื่มชาอย่างมากก็คือ นับยุคสมัยที่ญี่ปุ่นเกิดสงครามกลางเมืองเป็นเวลายาวนานนั้น ประเพณีการเลี้ยง น้ำชาภายหลังชนะศึกสงครามถือเป็นพิธีกรรมสำคัญอย่งหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดมายาวนานตลอดช่วงเวลาแห่งสงครามเลยทีเดียว ประเพณีในการดื่มชาของชาวญี่ปุ่นอันไม่ปกติธรรมดานี้เอง ที่ทุกวันนี้ ถือเป็นศิลปะประจำชาติอย่งหนึ่งของญี่ปุ่นซึ่งใครๆก็ต้องการชมศิลปะการ ชงชาและการดื่มชานี้ ไม่ว่าคนจากมุมใดในโลกก็ตาม
ห้องน้ำชา
ตามประวัติระบุว่าแม้ ชาวญี่ปุ่นจะรู้จักใบชามาตั้งแต่ก่อนยุคศตวรรษที่ 10 แล้ว และเริ่มวัฒนธรรม การดื่มชาอย่างแท้จริงตั้งแต่ช่วงศวรรษที่ 12 (พุทธศตวรรษที่ 13) โดยพระ ภิกษุ เอชิไซ เป็นผู้นำมาเผยแพร่ก็ตาม แต่ศิลปะการชงและดื่มชานี้เริ่มตันขึ้น อย่างแท้จริงตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 (พุทธศตวรรษที่ 20) โดยพระภิกษุ เซน อีกรูปหนึ่งนามว่า มูราตะ ชูโคว 村田珠光 (Murata Shuko) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มสร้างห้อง ดื่มชาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเรียกห้องน้ำชานี้ว่า สุกิยะ (Sukia) ห้องดื่มชาที่ สร้างขึ้นนี้มีขนาดเนื้อที่ 18 ตารางฟุต จุคนได้ 5 คน โดยไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ สำหรับดื่มชาเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นที่แสดงศิลปะการชงชาและที่ปฏิบัติธรรมไป ด้วยในตัว พระ มูราตะ ชูโกว ยังเป็นผู้วางหลักวิธีในการชงชาอย่างมีลำดับขั้นตอน เป็นรูปแบบอีกด้วย โดยจุดประสงค์เริ่มตันนั้นพระ มูราตะ ซูโกวต้องการ ใช้ห้องดื่มชานี้เป็นเครื่องฟอกชำระจิตใจเพื่อให้เข้าถึงแก่น ของหลักธรรมผ่าน กรรมวิธีการชงชาจนกระทั่งถึงการดื่มชาอย่างถูกต้องตามหลักวิธี โดยหมายที่ จะให้เกิดผล 3 ประการด้วยกัน คือ
- ฟอกชำระจิตใจให้ใสสะอาด
- ให้เกิดความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างเจ้าภาพกับแขก
- เพื่อให้คนต่างระดับชั้นสามารถนั่งร่วมโต๊ะน้ำชาเดียวกันได้
นับจากที่พระ มูราตะ ซูโกว คิดรูปแบบห้องดื่มชานี้ขึ้น ต่อมาก็เป็นที่ นิยมขึ้นเรื่อยๆจนกลายมาเป็นตันแบบให้กับคนทั่วไปนำรูปแบบและหลักการ นี้ไปใช้บ้าง จนมีผู้เปิดห้องดื่มชาหรือ สีกิยะ เช่นนี้ขึ้นอย่างแพร่หลายไปทั่วทั้ง เมืองเกียวโตและที่อื่นๆตามอย่าง สีกิยะ ของพระ ชูโกว เป็นทิวแถว
ห้องถกปริศนาธรรม
กระทั่ง ในช่วงศตวรรษที่ 16 (พุทธศตวรรษที่ 21) เซนโนะริเกียว (Sen no Rilyu) ซึ่งมีอาชีพเป็นพ่อค้า ได้คิดประยุกต์ห้องเลี้ยงน้ำชาขึ้นใหม่จาก สีกิยะ เติมมา เป็นห้องเลี้ยงน้ำชาที่มีการประดับประดาผลงานศิลปะอันสวยสดงดงาม โดย นำภาพวาดและภาพอักษรศิลปต่างๆที่เป็นภาพซึ่งมีความหมายในทางธรรม หรือภาพปริศนาธรรมต่างๆไปแขวนตามจุดต่างๆภายในห้องเพื่อให้ผู้ดื่มชาได้ ชมและตีความในปริศนาแล้วนำมาถกเถียงกัน เมื่อประกอบเข้ากับศิลปะการ ชงชาแล้วสามารถกลมกลืนกันได้อย่างเหมาะเจาะต่อมาสิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำมา ใช้เป็นรูปแบมาตรฐานของห้องดื่มน้ำชาทั่วไปจนถือเป็นหลักการมาตรฐาน ไปในที่สุด และในช่วงเวลานั้นเองที่คำว่า “ชาโคะ” จึงได้ถูกใช้นำมาเรียกรวมๆ กระบวนการในการชงชาและดื่มชาแบบญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณีเฉพาะของตนเอง ซึ่งคนทั่วโลกมองว่าเป็นพิธีกรรมมากกว่าการชงและดื่มชาแบบธรรมดาๆ ซึ่งได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลกว่า นั่นก็คือความมี “สุนทรียศาสตร์” ในแบบของชาวญี่ปุ่น ที่สามารถสัมผัสถึงความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างลึกซึ้ง
เครื่องรางญี่ปุ่น
สำหรับเครื่องรางญี่ปุ่นนั้น มีจุดเริ่มต้นเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ แต่เท่าที่หาข้อมูลมาให้ ซึ่งปรากกฏอยู่ใน ตำนานประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น นิฮอนโคชิกิ คือ เริ่มตั้งแต่ญี่ปุ่นยังไม่เกิดเลย โดยที่ มีตอนหนึ่งขอยอกตัวอย่างให้เห็นชัดๆคือ ตอนที่ เทพีอมาเทราสึ มอบหมายให้ นินิกิ ลงมาปกครองโลกนั้น ได้มอบเครื่องราง 3 สิ่ง นั้นคือ ดาบศักดิ์สิทธิ์ กระจกวิเศษ และอัญมณีคู่บารมี โดยที่นินิกิได้ลงมาปกครองโลก และมอบให้กับชนรุ่นหลังถัดไป และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และกลายมาเป็น ไตรราชกกุธภัณฑ์ ประจำชาติ ที่มีความสำคัญสูงสุดของประเทศ และมีการแยกจัดเก็บไว้ในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติญี่ปุ่นเลยทีเดียว
และสำหรับอีกตอนหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน คือตอนที่ เทพออมาเทราสึ ได้ให้สิ่งมงคลให้กับ กษัตริย์ จิมมุ นั่นคือ มอบ นกกาสามขา ยาตาการาสึ เพื่อเป็นสิ่งมงคล ของขลัง เพื่อชี้ทางสว่างให้กับ กษัตริย์จิมมุ ในตอนที่เริ่มไปบุกเบิกแว่นแคว้น ซึ่งเทพีแห่งดวงอาทิตย์ อามาเทราสึ ทราบดีว่า พระเจ้าจิมมุ จะต้องใช้ความอดทน อุตสาหะวิริยะ เป็นอย่างมาก เพราะต้องทำงานใหญ่ที่สุด คือการรวบรวมแว่นแคว้นต่างๆ ขึ้นเป็นปึกแผ่น จากแว่นแคว้นต่างๆ ให้เป็นญี่ปุ่นให้จงได้
ซึ่งนั่นเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ซึ่งเครื่องรางญี่ปุ่น เหล่านี้ มีความเป็นไปเป็นมาอย่างยาวนาน โดยสามารถอ่านได้จาก กำเนิดญี่ปุ่น เทพญี่ปุ่น ในตอนต่างๆได้ตามบทความก่อนหน้านี้ที่ได้เรียบเรียงไว้แล้ว และยังมีเรื่องราวอีกมากมายหลายเรื่องเกี่ยวกับ ตำนานเครื่องรางญี่ปุ่นที่เกิดขึ้น และหากเราได้ทราบเรื่องเหล่านี้แล้ว ความพิถีพิถันในการเลือก การใช้ การสัมผัส และการรักษา เครื่องรางญี่ปุ่น ของเรามีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันที่มากขึ้นไปด้วย
ความเหมือนกันของพิธีชงชา และ เครื่องรางญี่ปุ่น
พิธีชงชา
พิธีชงชา ซาโดะ นั้น พิถีพิถันตั้งแต่ วิธีการปลูก การคัดเลือกใบชา การตาก การเก็บบ่มใบชา ไปจนถึงกรรมวิธีการชงชาอย่างประณีตบรรจง หรือแม้แต่การจัดห้องเพื่อการดื่มชาโดยเฉพาะ มุมมองของผู้ชงชา การเข้าถึงวิถีชงชา ศิลปะการชงชา รู้จักมองในทางลึกมากกว่าทางกว้าง และให้มองทุกสิ่งทุกอย่างว่าล้วนแต่มีจิตวิญญาณด้วยกันทั้งสิ้น วีถีเรียบง่าย การเข้ากัน และวินัย และอื่นๆ ซึ่งกระบวนการชงชาเช่นนี้ถือเป็นการเคารพชา
เครื่องรางญี่ปุ่น
การไปนมัสการ เครื่องรางญี่ปุ่น นั้นก็มีความพิถีพิถันเช่นกัน ตั้งแต่ ข้อควรปฏิตินและธรรมเนียมต่าง ก่อนเข้าวัด-ศาลเจ้า ระหว่างอยู่ในวัด-ศาลเจ้า และหลังจากออกจากวัด-ศาลเจ้า รวมไปถึงการนำเครื่องราง สิ่งมงคลเหล่านั้นไปใช้ และการรักษาดูแล หรือแต่ธรรมเนียมที่เล็กๆน้อยๆเช่น การแต่งกาย การเดินในศาลเจ้า ต้องซ้ายหรือขวา เทมิสึ การชำระล้างร่างกายก่อนเข้าบริเวณ การอธิษฐาน คำอธิษฐาน การทำก่อนและหลังคำอธิษฐาน การนำเครื่องรางญี่ปุ่นไปใช้ และอื่นๆอีกมากมาย ดังที่เขียนไว้ใน บทความ ศาสนา พุทธ-ชินโต วิถีแห่งเทพญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งกระบวนไปนมัสการบูชาเครื่องรางญี่ปุ่น เช่นนี้ถือเป็นการเคารพเครื่องรางญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน
สรุป
จะเห็นได้ว่า ชาแม้ว่ามองว่าเป็นเพียงแค่เครื่องหนึ่งอย่างหนึ่ง ยังมีสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมเหล่านี้ ฉันใดก็ฉันนั้น เครื่องรางญี่ปุ่น ก็เช่นกันหากมองว่ามีเงินก็ไปซื้อมาติด ประดับร่างกายก็เป็นได้ แต่หากเราใส่ในมากกว่านั้นและเจาะลึกลงไปในแก่นรากของการได้มาตามวิถีญี่ปุ่นโบราณนั้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน ดังนั้นแล้ว ทำให้เราเข้าใจได้ว่า อยู่ที่มุมมองของเรา และหากว่าเรามองในคนละมุมแล้ว เราก็จะมีความต่างของการได้มาซึ่งเครื่องรางญี่ปุ่น หากเราต้องการเจาะลึกลงไป เราคงต้องหาร้านค้า หรือผู้ขายที่มีความชำนาญ พิถีพิถัน เฉพาะด้านนั้นๆเลยจะดีกว่า
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม
ศิลปะแขนงอื่นๆอีกหลายแขนง ที่มีวัฒนธรรมงเป็นศิลปะประจำชาติญี่ปุ่น ตัวตัวอย่างเช่น
- 華道・生け花 (kadoh・ ikebana) ศิลปะการจัดเรียงดอกไม้
- 香道 (koudoh) ศาตร์ของเครื่องหอมญี่ปุ่น
- 書道 (shodoh) ศิลปะการเขียนพู่กันญี่ปุ่น
- 剣道 (kendoh) ศิลปะการต่อสู้เคนโด
- 弓 道 (kyudoh) ศิลปะการยิงธนูญี่ปุ่น
- 居合道 (iaidoh) ฟันดาบญี่ปุ่น
- 柔道 (judoh) ศิลปะการตู่สู้ยูโด
- 空手道 (karatedoh) คาราเต้
- 合気道 (aikidoh) ศิลปะการป้องกันและต่อสู้ด้วยมือเปล่า
ฝากร้าน
อย่างไรก็ตามแล้ว ทางสยามคะเนะ ได้มีของเล็กๆน้อยๆที่นำมาขาย เพื่อดำรงค์ให้เว็บของเราอยู่ได้ด้วยตนเอง เช่น แมวกวัก เครื่องรางญี่ปุ่น จากวัดและศาลเจ้าต่างๆในญี่ปุ่น ของฝาก ของที่ระลึก จัดจำหน่ายในร้านค้าออนไลน์ด้วยนะครับ คงจะเป็นการดีหากได้มีโอกาสให้เรา ได้นำเสนอสินค้าเหล่านี้ และคงจะดีหากเรื่องเหล่านี้ได้มีการส่งต่อถึงเพื่อน ญาติ สนิทของท่าน เราอยากทำให้เว็บของเราเป็นเว็บคุณภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องและมีความนิยมด้วยเช่นกัน ถ้าแชร์บทความของเรานี้ต่อ เรารู้สึกขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
บทความที่เกี่ยวเนื่อง
- ไตรราชกกุธพันธ์ เครื่องราง ของศักดิ์สิทธิ์ 3 อย่าง แห่งราชวงญี่ปุ่น
- ศาสนา พุทธ-ชินโต วิถีแห่งเทพญี่ปุ่นและ เครื่องรางญี่ปุ่น
- กำเนิดญี่ปุ่น เทพญี่ปุ่น ภาค 1
- กำเนิดญี่ปุ่น เทพญี่ปุ่น ภาค 2
- กำเนิดญี่ปุ่น เทพญี่ปุ่น ภาค 3
- กำเนิดญี่ปุ่น เทพญี่ปุ่น ภาค 4
- กำเนิดญี่ปุ่น เทพญี่ปุ่น ภาค 5
- กำเนิดญี่ปุ่น เทพญี่ปุ่น ภาค 6
Reference
- Historic of Japan รงรอง วงศ์โอบอ้อม
- Historic of Japana Wiki
- Zen Wiki
- How to Zanpai
เครื่องรางญี่ปุ่น แนะนำสำหรับคุณ
Ise Jingu Shrine
Ise Jingu Shrine
การเงิน ร่ำรวย
Shiawase Neko