ศาสนา พุทธ-ชินโต วิถีแห่งเทพญี่ปุ่นและ เครื่องรางญี่ปุ่น

Futami Okitama Shrine

เคยสงสัยกันมั้ยครับว่า ญี่ปุ่นนับถือศาสนาอะไร ลองไปหาข้อมูล จากการสำรวจ ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2559)

  • ไม่มีศาสนาหรือชินโต ร้อยละ 51.8 %
  • พุทธ ร้อยละ 34.9%
  • สำนักของชินโต 4%

ชินโต วิถีแห่งเทพญี่ปุ่น

ศาลเจ้า IZUMO
ศาลเจ้า Izumo Grand Shrine เป็นศาลเจ้าชินโตที่สำคัญและเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อบูชาแก่โอกูนินูชิ เทพแห่งการสมรส

ศาสนาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทางด้านศาสนานั้น นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ญี่ปุ่นเปิดกว้างให้มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยได้ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) เป็นต้นมาว่าประชาชนมีอิสรภาพในการนับถือศาสนาใดๆก็ได้ ซึ่งแต่เดิมศาสนา ชินโต (shinto) ถูกกำหนดให้เป็นศาสนาอย่างเป็นทางการที่สืบมาแต่ยุคโบราณแล้ว คำว่า “ชินโต” หมายถึง “วิถีแห่งเทพเจ้า” ศาสนานี้นับเป็นศาสนาที่มีความเก่าแก่ที่สุดศาสนาหนึ่ง เป็นศาสนาที่มีความเชื่อและความเคารพยำเกรงต่อพลานุภาพของเทพเจ้าองค์ต่างๆเช่น เดียวกับศาสนาโบราณอื่นๆทั่วโลก ศาสนานี้ถือเป็นศาสนาพื้นเมืองที่อยู่คู่กับชาวญี่ปุ่นมาแต่ดึกดำบรรพ์นับจากที่เริ่มมีการก่อตั้งชุมชนขึ้นแรกๆเป็นตันมาและอยู่คู่กับสังคมญี่ปุ่นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ แตอันที่จริงยังไม่มีการเรียก ชื่อของศาสนานี้ว่า “ชินโต” มาจนถึงชงประมาณศตวรรษที่ 8 (พุทธศตวรรษที่ 13) หรือในยุคสมัย นาระ เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่ศาสนาพุทธเข้าไปเผยแผ่ในแผ่นดินญี่ปุนแล้ว และได้ก็มีการนำอิทธิพลความเชื่อของศาสนาพุทธเข้าไปผสมผสานกับความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของตน และกำหนดพิธีกรรม กำหนดวิถีประเพณีอย่างมีรูปแบบขึ้น

คำว่า ชินโต เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกอยู่ในบันทึกโบราณที่มีชื่อว่า “โคจิกิ (Kojiki)” ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่เขียนขึ้นในสมัย นาระ จึงเชื่อว่าการเรียกชื่อศาสนาที่นับถือกันมาแต่เก่าแก่โบราณนั้นเริ่ม ขึ้นในสมัย นาระ นี้เอง ส่วนพิธีกรรมและความเชื่อบางอย่างของ ชินโต นั้น มีความละม้ายคล้ายกับความเชื่อในศาสนาพุทธก็เพราะได้รับอิทธิพลบางสิ่งบางอย่างจากศาสนาพุทธข้าไปผสมผสานตั้งแต่ช่วงเวลานั้นด้วยนั่นเองก่อนหน้าจะมีการบัญญัติคำว่า ชินโต ขึ้นในยุค นาระ นั้น ศาสนาหรือความเชื่อที่ยึดถือกันมาแต่โบราณของชาวญี่ปุ่นก็คล้ายกับความเชื่อดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองแห่งต่างๆทั่วทุกมุมโลก คือเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างสิ่งต่างๆขึ้น สร้างจักรวาล สร้างโลก สร้างชีวิตและสิ่งต่างๆขึ้น โดยมีเทพองค์ต่างๆคอยปกปักรักษา และดูแลให้ทุกอย่างดำเนินไปตามวิถี มีภูตผีและวิญญาณที่สิงสถิตตามที่ต่างๆปะปนอยู่กับมนุษย์และเหล่าสรรพสัตว์คอยทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่างๆ แต่ชาวญี่ปุ่นสมัยโบราณก็ยังไม่ได้มีชื่อเรียกของสิ่งที่ตนเชื่อหรือมีพิธีกรรมการสักการะบูชาสิ่งที่ตนเชื่ออย่างเป็นระบบเท่าใดนัก มีแต่เพียงตำนานเรื่องเล่าที่กระท่อนกระแท่นไม่ชัดเจนนัก

Todaiji Temple
วัดโทไดจิ เป็นวัดพุทธในเมืองนาระ ประเทศญี่ปุ่น ศาลาหลวงพ่อโต ของวัดนี้ได้รับการบันทึกว่าเป็นอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไดบุตสึขนาดใหญ่หล่อจากบรอนซ์

พุทธศาสนาในญี่ปุ่น

จนกระทั่งเมื่อมีศาสนาพุทธ และลัทธิความเชื่อต่างๆของชาวจีน เช่น ขงจื่อ (Kongz) และเต (D๐) แผ่เข้าสู่ญี่ปุ่นตั้งแต่ยุค อสึกะ ในช่วงศตวรรษที่ 6 (พุทธศตวรรษที่ 11)ชาวญี่ปุ่นจึงเริ่มจัดระบบความชื่อของตนขึ้นใหม่อย่างเช่นระบบความเชื่อในศาสนาพุทธ ที่มีประวัติความเป็นมา มีองค์พระโพธิสัตว์ มีพุทธสาวกซึ่งเป็นผู้ผยแพร่คำสอนของพระพุทธองค์รูปต่างๆมีหลักคำสอนอันเป็นเหตุเป็นผล รวมถึงหลักการต่างๆของ ขงจื่อ และ เต่ำ ที่มีความน่าเชื่อถือ

ชาวญี่ปุ่นจึงเริ่มพัฒนารูปแบบความเชื่อของตนให้เป็นเหตุเป็นผลและจัดรูปแบบความเชื่อดั้งเดิมให้เป็นระบบมากขึ้นเรื่อยๆตามอิทธิพลของศาสนาและความเชื่อที่รับมาจากประเทศจีน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ริมต้นขึ้นจากราชสำนักญี่ปุ่นเป็นแห่งแรก ที่เริ่มมีการปรับรูปแบบความเชื่ออย่างมีระบบขึ้นก่อนแล้วจึงค่อยกระจายต่อไป   ยังเหล่าขุนนางและชนชั้นสูงเป็นลำดับ แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ชัดเจนนักจนกระทั่งเข้าสู่ยุคสมัย นาระ นั่นเอง จึงได้มีการกำหนดรูปแบบต่างๆอย่างเป็นหลักเป็นฐานตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ โคจิกิ  ซึ่งแปลว่า “บันทึกเรื่องราวโบราณ” เกิดขึ้นจากพระดำริของราชินี เกนมอิ (Genme) ซึ่งปกครองญี่ปุ่นในยุคสมัย นาระ ช่วงเวลานับแต่ปี ค.ศ. 705 ถึง 715(พ.ศ. 1250 ถึง 1258) ทรงมอบให้ โอ โนะ ยาสี-มารุ (O no Yasumaro) ซึ่งเป็นขุนนางในสมัยนั้นเป็นผู้บันทึกคัมภีร์ โคจิกิขึ้น

คัมภีโคจิกิ

คัมภีร์ โคจิกิมีลักษณะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของการสร้างญี่ปุ่นในเชิงเทพปกรณัม มีทั้งสิ้น 3 เล่ม

  • เล่มแรก กล่าวถึงเทพเจ้าซึ่งเป็นผู้สร้างญี่ปุ่นและเผ่าพันธุ์ชาวญี่ปุ่นขึ้น รวมถึงเทพเจ้าองค์ต่างๆที่เกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่น และการสักการะเทพเจ้าองค์ต่างๆ
  • เล่มที่ 2 คล่าวถึงการสืบสายของกษัตริย์ จิมมุ (Jimmu) ที่ถือเป็นกษัตริย์องค์แรกของเผ่าพันธุ์ญี่ปุ่น รวมถึงกษัตริย์ในตำนานพระองค์อื่นๆรวม 15 พระองค์ ไปสิ้นสุดที่กษัตริย์ โอจิน(Oin) กษัตริย์องค์แรกของยุค โคฟง อันถือเป็นยุคสมัยที่เริ่มปรากฎร่องรอยของอารยธรมให้เห็นอย่างชัดจน
  • เล่มที่ 3 ก็กล่าวถึงกษัตริย์องค์ที่ 16 ถึงองค์ที่ 33 จากยุคโคฟง ต่อเนื่องมาจนถึงยึค ค อสึกะ

นับจากยุคสมัยโคฟุงต่อเนื่องถึงยุค อสึกะ นี้เองที่เริ่มตันปรากฏให้เห็นการสร้างรูปเคารพ ศาลเจ้าและสถานที่สักระบูชาเทพเจ้าขึ้น จึงสันนิษฐานว่าความเชื่อโบราณของชาวญี่ปุ่นได้เริ่มลงหลักแน่นหนาจนเป็นศาสนา ชินโต ช่วงเวลานี้เองด้วยการที่ศาสนา ชินโต เชื่อว่าเทพเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งขึ้น ศาสนานี้จึงคล้ายกับศาสนา เทวนิยม (Polytheism) หรือศาสนาที่เชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ทั่วไปเช่นศาสนาฮินดู กรีกโบราณโรมันหรืออียิปต์ ศาสนา ชินโตจึงแตกต่างไปจากศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม หรือศาสนาอื่นๆที่มีองค์พระศาสดาผู้ประกาศศาสนาอย่างชัดจน ศูนย์กลางของความศรัทธาในศาสนา ชินโต จึงรวมอยู่ที่กษัตริย์ ซึ่งถูกปลูกฝังให้ชื่อว่าเป็นผู้ที่สืบเผ่าพงศ์จากเทพเจ้ามาแต่โบราณ

ความเชื่อและศาสนากับคนญี่ปุ่นในยุคปัจจุบัน

แต่ความเชื่อนี้ในปัจจุบันก็เริ่มเจือจางลงไปมากและความเชื่อในศาสนา ชินโต ของชาวญี่ปุ่นทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีความเข้มข้น  แต่ก่อนอีกต่อไป  แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเชื่อในศาสนา ชินโต ยังคงซึมซับอยู่ในสังคมญี่ปุ่นอย่างเหนียวแน่นโดยที่ชาวญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่ใช้ชีวิตอยู่ทุกวันนี้อาจไม่ทราบเลยว่าตนลังยึดถือในวัตรปฏิบัติแบบ ชินโต บางอย่างโดยที่ไม่รู้ตัว เลยก็เป็นได้ และมีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือการประยุกต์รวมเอาวัฒนธรรมในสมัยเก่า ประยุกต์เข้ากับสมัยใหม่ได้อย่างแนบเนียน และในปัจจุบัน มีการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาท่องเที่ยวในญี่ปุ่นมากเป็นประวัติการณ์ในหลายๆวัดและศาลเจ้า ได้ปรับตัวให้เป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น ทำให้ลดความเป็นญี่ปุ่นน้อยลง

ฮัตสึโมเดะ ธรรมเนียม การไปไหว้พระตามวัดหรือศาลเจ้าเป็นครั้งแรก โดยวิธีการสักการะของวัดและศาลเจ้าจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย

พุทธและชินโต ในญี่ปุ่นปัจจุบัน

ในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ๆให้ความสนใจและยึดถือว่าเป็นเทศกาลสำคัญของพวกตน ที่จะได้หยุดเรียน หยุดงาน แล้วแต่งตัวสวยๆออกจากบ้านไปเที่ยวเตร่ตามสถานที่ต่างๆนั้น ที่แท้ก็คือเทศกาลสำคัญอันสืบทอดมาแต่โบราณตามความเชื่อของศาสนา ชินโต นั่นเองในแต่ละปีชาวญี่ปุ่นแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศจะมีงานเทศกาลสำคัญๆที่จัดขึ้นตามประเพณีเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนั้นๆซึ่งสืบทอดกันมาแต่โบราณ ตามแต่ละพื้นถิ่นจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลตามความเชื่อที่แตกต่างกันไป แต่ก็มีเทศกาลสำคัญๆที่จะยึดถือตรงกันทั่วประเทศ งานเทศกาลเหล่า นั้นก็เกิดขึ้นมาจากความเชื่อตามหลักศาสนา ชินโต นั่นเอง และจนถึงทุกวันนี้งานเฉลิมฉลองเทศกาลเหล่านั้นก็ยังคงได้รับการยึดถือและปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันกว่าหลายพันปีแล้ว แม้คนในวัยหนุ่มวัยสาวหรือเด็กๆก็มักตั้งหน้าตั้งตารองานเทศกาลเหล่านั้นอย่างจดจ่อเพื่อจะได้ออกไปเที่ยวกันอย่างสนุกสนานในแต่ละปี ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่างานเฉลิมฉลองเทศกาลเหล่านี้เป็นสิ่งดึงดุด ให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกให้เดินทางไปที่ญี่ปุ่นเพื่อสัมผัสกับงานฉลอง อันยิ่งใหญ่เหล่านั้นปีหนึ่งนับเป็นจำนวนมหาศาลเช่นกัน

และถึงแม้ในปัจจุบัน ศาสนา ชินโต จะถูกบีบให้ชาวญี่ปุ่นต้องไม่ยอมรับศาสนานี้เป็นศาสนาประจำ ชาติอีกต่อไปตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2 เป็นตันมา เนื่องจากถูกมอง ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการปลุกความคลั่งชาติของชาวญี่ปุ่นขึ้นมา ที่เป็นสาเหตุให้ เกิดลัทธิแผ่ขยายอำนาจสร้างจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงวลานั้นจนถึงกับพยายาม บังคับไม่ให้ชาวญี่ปุ่นจัดงานฉลิมฉลองตามประเพณีที่ยืดถือสืบทอดกันมาแต่ โบราณอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถจะ คุกคามความเชื่อ หรือวัตรปฏิบัติตาม ประเพณีที่ชาวญี่ปุ่นยึดมั่นมาอย่างเหนียวแน่นได้ และแม้ว่าศาสนา ชินโต จะถูกปลดออกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ตามรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับปัจจุบัน  ชาวญี่ปุ่นก็ยังคงยึดถือเทศกาลต่างๆตามที่ศาสนา ชินโต กำหนดไว้ให้เป็นงานเทศกาลสำคัญประจำปีมาจนถึงทุกวันนี้อยู่นั่นเอง

สำหรับงานเฉลิมฉลองเทศกาลสำคัญของชาวญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณในแต่ละปี ส่วนใหญ่เป็นงานเฉลิมฉลองตามรูปแบบสังคมเกษตรกรรมที่เป็นสังคมยุคสมัยโบราณ ช่น งานฉลองฤดูหว่านไถ ฉลองฤดูเก็บเกี่ยว งานเทศกาลสักการะเทพเจ้าหรือเทศกาลขอพรต่งๆ สำหรับเทศกาลที่ถือว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญที่ชาวญี่ปุ่นจากทั่วทั้งประเทศต่างแห่แหนกันไปร่วมงานเทศกาลสำคัญของชาวญี่ปุ่น

เครื่องรางญี่ปุ่น วัดและศาลเจ้าญี่ปุ่น

เครื่องรางความรัก รุ่น60ปี Izumo Taisha เครื่องรางญี่ปุ่น

เครื่องรางความรัก ศาลเจ้า Izumo Taisha (ศาลเจ้าชินโต)

เครื่องรางนำโชค ถุงนำโชคเรื่องลูก Kinkakuji

เครื่องรางนำโชค ถุงนำโชคเรื่องลูก Kinkakuji (วัดพุทธ)

กล่าวไปถึง เครื่องรางญี่ปุ่น โดยส่วนใหญ่แล้ว ความเชื่อเหล่านี้มักอยู่ที่ศาลเจ้า ชินโต เราจะเห็นการประกอบพิธี การบวงสรวง การทำพิธีผ่านเทศกาลต่างๆในญี่ปุ่น บ้าง นั้น บางครั้งก็ดูแล้วก็มีความละม้ายคล้ายคลึงกับวัดพุทธเช่นกัน สำหรับวัดในญี่ปุ่นแล้ว การสวดมนต์เป็นกิจหลัก เครื่องรางญี่ปุ่น ที่ออกมาจากทางวัดในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะจะน้อยกว่าทางศาลเจ้าของชินโต เนื่องจากในญี่ปุ่นมีศาลเจ้าอยู่มากกว่าวัด และเครื่องรางในศาลเจ้าจะมีการดีไซด์ที่น่ารักและทันสมัย มากกว่าทางวัดที่ดูเข้มขรึม แต่ในยุคปัจจุบัน บางครั้งก็แยกไม่ออกว่า เครื่องรางชิ้นนี้มาจากวัดหรือจากศาลเจ้าชินโต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เครื่องรางญี่ปุ่นเหล่านี้ เป็นเครื่องรางสายขาว คือไม่ใช่การทำคุณไสย ไม่มีการทำเพื่อไปทำร้ายคน และที่สำคัญ เครื่องรางเหล่านี้ประกอบพิธีด้วยผู้ทรงศีล หรือปุโรหิต ของทางวัดและศาลเจ้าที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น การนำมาทำพิธีเองไม่ถือว่าเป็นการทำพิธีของทางวัด-ศาลเจ้านะครับ

การไปนอบน้อมนมัสการ เครื่องรางจากวัดและศาลเจ้าในญี่ปุ่น ก็มีความแตกต่างกันเล็กน้อยเช่นกัน ในบางครั้ง การสังเกตุว่าเป็นวัดหรือเป็นศาลเจ้าก็มีความสำคัญไม่น้อย ในวัดก็มีวิธีแบบหนึ่ง ส่วนในศาลเจ้าก็มีวิธีการอีกแบบหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นแล้ว มีข้อ สังเกตุง่ายๆว่าเป็นวัดหรือศาลเจ้า ให้ดูที่คำลงท้าย หากลงท้ายด้วย Jinja Jingu  นั้นถือว่าเป็นศาลเจ้า ให้ปฏิบัติตามการไปนมัสการศาลเจ้า ดังที่กล่าวในหัวข้อที่เคยกล่าวไว้ในเว็บแห่งนี้

สรุป

ชินโต สอนให้มีความเชื่อและความเคารพยำเกรงต่อพลานุภาพของเทพเจ้าองค์ต่างๆ  เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างสิ่งต่างๆขึ้น สร้างจักรวาล สร้างโลก สร้างชีวิตและสิ่งต่างๆขึ้น โดยมีเทพองค์ต่างๆคอยปกปักรักษา และดูแลให้ทุกอย่างดำเนินไปตามวิถี มีภูตผีและวิญญาณที่สิงสถิตตามที่ต่างๆปะปนอยู่กับมนุษย์และเหล่าสรรพสัตว์คอยทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่างๆ

พุทธ ความเชื่อในศาสนาพุทธ ที่มีประวัติความเป็นมา มีองค์พระโพธิสัตว์เป็นผู้นำคำสอน มีพุทธสาวกซึ่งเป็นผู้ผยแพร่คำสอนของพระพุทธองค์รูปต่างๆมีหลักคำสอนอันเป็นเหตุเป็นผล เช่นทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งเป็นเหตุและผลกันและกัน รวมถึงหลักการต่างๆของ ขงจื่อ และ เต๋า ที่มีความน่าเชื่อถืออื่นๆ

และในบางครั้งจะเห็นได้ว่า ทั้งชินโต  และคำสอนพุทธศาสนา รวมกันอยู่ในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นเข้าไปอย่างแนบแน่จนบางครั้งก็แทบจะไม่ออก และชาวญี่ปุ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเอาไว้อย่างเหนียวแน่น อีกทั้งประสมประสานวัฒนธรรมใหม่เข้ากันได้อย่างกลมกลืน วัดและศาลเจ้าในญี่ปุ่น ก็เป็นส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรม รวมไปถึง เครื่องรางญี่ปุ่น ก็มีให้สัการะบูชาทั้งในที่เป็นศาลเจ้าและวัดต่างในญี่ปุ่น ซึ่งบางอย่างก็แตกต่างกันออกไปอย่างเห็นได้ชัด แต่บางอย่างก็แทบจะละม้ายคล้ายกันจนแทบแยกไม่ออกเช่นกัน