เจาะลึก ทำไมญี่ปุ่นจึงชื่อ ญี่ปุ่น

เจาะลึก ทำไมญี่ปุ่นจึงชื่อ ญี่ปุ่น

วันนี้จะมาเล่าถึงว่า ทำไมประเทศญี่ปุ่น จึงชื่อว่า ญี่ปุ่น และการที่เราได้รู้จักญี่ปุ่นในแบบของเรา ยิ่งเรารู้ลึกลงไปเท่าไหร่ ประเทศนี้ยิ่งมีความน่าสนใจทั้งทางประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม  และในฐานะที่เรา สยามคะเนะ ทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องรางญี่ปุ่น แมวกวักญี่ปุ่น ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับ ธรรมเนียมและวัฒธรรมอื่นๆของญี่ปุ่นโดยตรงแล้วด้วยแล้ว ยิ่งควรศึกษาเจาะลึกลงไป เราจะได้รู้ว่าจริงๆแล้วทุกอย่างล้วนมีที่ไปที่มาและเกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่เรากำลังให้ความสนใจ ทำแล้วให้รู้ลึก และรู้จริง และสนุกไปกับมัน และสนุกไปพร้อมๆกันเลยครับ

ประเทศญี่ปุ่นมักถูกเรียกว่าเป็น “ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย” ชื่อนี่เริ่มปรากฏขึ้นครั้งแรกในบันทึกของชาวจีนที่ใช้เรียกประเทศนี้แต่โบราณ ชาวจีนเริ่มรู้จักประเทศนี้กันอย่างแท้จริงตั้งแต่ในยุค ราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty> หรือประมาณช่วงศตวรรศที่๗(พุทธศตวรรษที่ ๑๒) โดยเรียกผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะทางทิศตะวันออกของจีนนี้ว่า “日本” อ่านว่า “รื่อ เปิ่น (Ri Ben)” แปลว่า “จุดเริมต้นของตะวัน”หรือ “จุดเริ่มตันของวัน” เนื่องจากคำว่า “日” หรือ “รือ” นั้นแปลความหมายได้ทั้งคำว่า “ดวงอาทิตย์” หรือ “วัน” ที่ชาวจีนเรียกประเทศญี่ปุ่นเช่นนี้เพราะ ตำแหน่งที่ตั้งของเกาะญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแผ่นดินจีน หรือทิศที่ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาจากขอบฟ้าในแต่ละวันนั่นเอง สาเหตุที่ชื่อของญี่ปุ่นเริ่มปรากฎในสมัยราชวงถังก็เป็นเพราะประเทศจีนเริ่มเปิดสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่นอย่งแท้จริงเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคสมัยนั้นนั่นเอง

ส่วนญี่ปุ่นนั้นรู้จักกับประเทศจีนผ่านทางประเทศเกาหลีมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 6 (พุทธศตวรรษที่ 11) แล้ว โดยญี่ปุ่นก็เริ่มตันรับเอาอิทธิพลต่างๆทั้งทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมมาจากจีนโดยผ่านทางเกาหลีด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังยอมรับชื่อที่ชาวจีนเรียกประเทศตนว่า “รื่อ เปิ่น” มาใช้เป็นชื่อเรียกตัวเองด้วยเช่นกัน แต่ก็ผันการอ่านออกเสียงที่ต่างไปตามสำเนียงของตนว่า “นิฮอน (Nihon)“หรือ “นิปปอน (Nippon)

ชาว Ainu ชนพื้นเมืองญี่ปุ่น

นอกจากชื่อ รื่อเปิ่น ที่ชาวจีนในสมัยราชวงศ์ ถังใช้เรียกประเทศญี่ปุ่น แล้ว ยังคงมีชื่ออื่นอีกที่ชาวจีนใช้เรียกประเทศนี้ อันที่จริงชาวจีนรู้จักกับเกาะที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่นมาก่อนสมัยราชวงศ์ ถัง แล้ว มีบันทึกของชาวจีนในยุคราชวงศ์ ฮั่น (Han Dynasty) ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนหน้ายุคสมัยราชวงศ์ ถังเป็นเวลานาน 4-5 ศตวรรษ เรียกผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะทางทิศตะวันออกว่า”หว่อ”แต่ถ้าหากออกเสียงตามสำเนียงญี่ปุ่นจะออกเสียงว่า”วา(Wa)” หรือ “วะ” จึงเชื่อว่านจะมีการติดต่อกันระหว่าง 2 แผ่นดินนี้มาตั้งแต่ยุคสมัยนั้นแล้ว แต่ก็อาจเป็นการติดต่อกันทางการค้าแบบผิวเผิน ไม่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตแต่อย่างใด คำว่า หวอ หรือ วา ในภาษาจีนมีความหมายหมายถึง คนตัวเตี๋ย หรือ คนแคระ เป็นคำเรียกซึ่งมาจากภาพลักษณ์ที่ชาวจีน ในสมัยนั้นมองคนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้วมีลักษณะที่แคระแกร็น ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะหมายถึงชาว “ไอนุ (Ainu)”ชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนกาะแห่งนี้ ก่อนที่จะมีคนเผ่าพันธุ์อื่นๆอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานแล้วผลักดัน คนฟื้นเมือง ไอนุ ให้ถอยร่นขึ้นไปทางตอนเหนือที่มีอากาศหนาวเย็นกว่า จนปัจจุบันนี้คนพื้นมือง ไอนุ ยังคงอาศัยอยู่เฉพาะบริเวณเกาะฮอกไกโด เกาะทางตอนหนือของหมู่เกาะญี่ปุนเท่านั้น ชาว ไอนุ นั้นมีรูปร่างที่ค่อนข้างเตี้ย กว่าคนเผ่าพันธุ์อื่นๆบนเกาะญี่ปุ่น จึงอาจเป็นไปว่าที่ขาวจีนในยุคนั้นเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “วา” นั้นน่าจะหมายถึงชาวแผ่นดินที่มีชาว ไอนุ อาศัยอยู่ในช่วงเวลานั้น คำว่า วา เขียนด้วยอักษร “”  ภาษาจีนอ่านว่า “อ๋าย” แต่ในภาษาญี่ปุ่นอ่านเว่า “วา” ภายหลังมีชาวญี่ปุ่นทราบว่าตัวอักษรดังกล่าวนี้มีความหมายไม่ดีในภาษาจีน จึงได้เปลี่ยนมาใช้ตัวอักษร ”    ” ซึ่งภาษาจีนอ่าน ว่า “เหอ”แต่ในภาษาญี่ปุ่นอ่านว่า “วา” เช่นกัน คำนี้มีความหมายหมายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นับจากศตวรรษที่ 8 เป็นตันมา ชาวญี่ปุ่นใช้ชื่อเรียกประเทศของตนเองว่า “ยามาโตะ (Yamato)” ที่เขียนด้วยตัวอักษร”大和” มีความหมายหมายถึง ชนชาติอันยิ่งใหญ่ แทน

Taiyo ลูกพระอาทิตย์

ยังคงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งที่มีความเชื่อว่าเป็นชื่อซึ่งชาวจีนใช้เรียกชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณตั้งแต่ในสมัย ราชวงศ์ โจว (Zhou Dynasty) ของจีน ช่วงประมาณ 1,046 ถึง 256 ปีก่อนคริสต์ศักราชคือชื่อ “ตงอี๋(Dongyi)” ชื่อนี้มีความหมายแปลว่า คนไร้อารยธรมทางทิศตะวันออก แต่ยังมีผู้ค้านว่าในยุคสมัยช่วงราชวงศ์โจวนั้นมีกลุ่มคนเถื่อนหรือคนไร้อารยธรรมอยู่ 4 กลุ่ม ถือเป็นศัตรูสำคัญของอาณาจักรโจวตั้งอยู่ 4 ทิศ ทั้งเหนือ-ใต้-ออก-ตก คนเถื่อนทางทิศตะวันออกของราชวงศ์โจวนั้นก็คือกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินซึ่งติดกับทะลจีนไม่ใช่คนบนกาะญี่ปุ่นแต่อย่างใด แต่ก็มีชื่อที่คล้ายกันนี้อยู่ชื่อหนึ่งปรากฏอยู่หลักฐานของชาวจีนช่วงเวลานั้นเช่นกันคือคำว่า “ตงหยาง (Dongyang)”หรือ “ตงอิ๋ง (Dongying)” ที่แปลว่า คนในทะเลตะวันออกซึ่งน่าจะตรงกับที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่นมากกว่าสำหรับชาวญี่ปุ่นเองนั้น ภูมิใจที่จะให้ใครๆเรียกพวกตนว่าชาว “แดนอาทิตย์อุทัย”มากกว่าคำอื่น และยังมักเรียกตัวเองกันว่า “ลูกพระอาทิตย์”อีกด้วย

ที่มาของคำว่า ญี่ปุ่น

สำหรับคนไทยแล้ว ทำไมถึงเรียกญี่ปุ่นว่าญี่ปุ่น  คำว่า “ญี่ปุ่น” ปรากฏในเอกสารไทยครั้งแรกในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง พ.ศ. 1998 ตรงกับในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่จริงๆ แล้วชาวสยามรู้จักญี่ปุ่นมานานกว่านั้นมาก มีบันทึกว่า มีสำเภาจากสยามหลงไปที่ญี่ปุ่นราวปี พ.ศ. 1863 สำเภาลำนี้มีเจตนาจะไปเกาหลี แต่ถูกกักไว้ที่ญี่ปุ่น 1 ปี จึงปล่อยไปเกาหลีได้ (ซึ่งสำเภาไปถึงเกาหลีในสมัยราชวงศ์โครยอ คำว่า ‘โครยอ’ 高麗 เป็นที่มาของคำว่า เกาหลี ซึ่งเราออกเสียงตามจีนแต้จิ๋วในช่วงหลังนานแล้ว เพราะเราติดต่อเกาหลีแค่ครั้งเดียวก็เลิกไปนานหลายร้อยปี) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนการก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา ชาวสยามที่ไปถึงเกาหลีและญี่ปุ่นในเอกสารเกาหลีระบุว่ามาจากประเทศ “เซียนหลอหู” คือประเทศสุโขทัย (เซียน) กับละโว้ (หลอหู) รวมกัน (บางท่านว่าไม่ใช่สุโขทัยแต่เป็นสุพรรณฯ) อย่างไรก็ตาม นี่เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกว่า สยามไปข้องแวะกับญี่ปุ่นและเกาหลี และน่าจะรู้จักกันมาก่อนบ้างแล้ว หรือไม่ก็รู้จักกันมากขึ้นหลังจากนั้น แต่ประเด็นสำคัญก็คือ คนสำเภาของสยามส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีน และมักเป็นจีนฮกเกี้ยน โดยเฉพาะในช่วงนั้น ท่าเรือสำคัญอยู่ที่ฉวนโจว มณฑลฮกเกี้ยน พ่อค้าในอุษาคเนย์ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นคนฮกเกี้ยน ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนฯ สมัยอยุธยาก็ระบุตำแหน่งข้าราชการบนสำเภาการค้าเป็นภาษาจีนฮกเกี้ยนทั้งสิ้น ดังนั้นเป็นไปได้สูงที่ไทยเราจะเรียก ญี่ปุ่นตามภาษาจีนฮกเกี้ยน คือ “ยิตปุ๋น” หรือ “ยิดปุ่น” (คำนี้อยู่บนแผนที่สมัยอยุธยา) ในสมัยอยุธยาก็มีชุมชนชาวญี่ปุ่นอยู่แล้ว นั่นจึงเป็นคำเรียก ญี่ปุ่น สืบมา

ที่มาของคำว่า JAPAN

สำหรับทางฝั่งชาวตะวันตกนั้นมีการกล่าวถึงประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในบันทึกของนักเดินทางชาวอิตาลี ชื่อ มาร์โคโปโล (Marco Polo) ที่เดินทางมาถึงยังประเทศจีนในยุคสมัยของ กุบไล ข่าน (Kublai Khan) กษัตริย์แห่งราชวงศ์ หยวน (Yuan Dynasty) ของจีนในศตวรรษที่ 13 (พุทธศตวรรษที่19) และเป็นผู้ที่นำเรื่องราวของโลกตะวันออกไปเปิดเผยแก่ชาวตะวันตก ได้รู้จัก ในบันทึกของ มาร์โค โปโล นั้นกล่าวถึงประเทศญี่ปุ่นว่าเป็นเกาะแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจีน โดยบอกว่าชาวจีนในเวลานั้นเรียกเกาะแห่งนี้ “ซีปันกู (Cipangu)” คำว่า “กู” ก็คือ “กั๋ว” ที่แปลว่าประเทศ เชื่อว่า มาร์โค โปโล เรียกชื่อประเทศ ซีปัน เพี้ยนไปตามสำเนียงของเขา และชื่อ ซีปัน นี้เช่นกันที่เชื่อว่าเป็นที่มาของชื่อที่ชาวตะวันตกใช้เรียกประเทศญี่ปุ่นว่า แจแปน (Japan) โดยตันทางของชื่อ ชีปัน ที่มาร์โค โปโล เรียกนี้ก็มาจากภาษาของชาว อู๋(Wu) อันเป็นภาษาพื้นถิ่นของชาวเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน ที่เรียกประเทศญี่ปุ่นในสมัยก่อนว่า “เจปเปิ่น (Zeppen)”  แต่ยังมีอีกข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่งถึงที่มาของคำว่า แจแปน เชื่อว่าชื่อนี้นำจะมาจากคำเรียกที่ชาวโปรตุเกสเรียกประเทศญี่ปุ่นตามอย่างชาวมาเลเซียและชาวอินโดนีเซียในยุคสมัยก่อนว่า “เจปัง Jepang)” แล้วเพี้ยนไปเป็น แจแปน นั่นเอง

ชาว Ainu ชนพื้นเมืองญี่ปุ่น

ชาว Ainu ชนพื้นเมืองญี่ปุ่น ที่ต้องถอยร่นขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือของประเทศญี่ปุ่น

InasagiHisanami กวนทะเล กำเนิดญี่ปุ่น รูปเต็ม

Izanagi และ Izanami กำลังกวนน้ำทะเล

ปฐมกษัตย์และกำเนิดญี่ปุ่น

ส่วนที่มาของคำว่าลูกพระอาทิตย์นั้นมาจากความเชื่อโบราณเกี่ยวกับ ชาติกำเนิดของชาวญี่ปุ่นนั่นเอง ในคัมภีร์โบราณของชาวญี่ปุ่นเล่มหนึ่งชื่อว่า “โคจิกิ (Kojiki)” ที่แปลว่า “บันทึกโบราณเกี่ยวกับทุกสรรพสิ่ง” ซึ่งเขียนขึ้นช่วงประมาณก่อนศตวรรษที่ 8 (พุทธศตวรรษที่ 13) กล่าวไว้ว่าทุกสรรพสิ่งถูกสร้างขึ้นโดยเทพและเทพี 2 องค์ คือ อิซานางิ (Izanagi) และ อิซานามิ (lzanami)

เทพ อิชานางิ เป็นผู้ให้กำเนิด อมาเทราสึ (Amaterasu) เทพีแห่งดวงอาทิตย์ จากดวงเนตรข้างซ้าย และ สึกูโยมิ (Tsukuyom) เทพแห่งดวงจันทร์ จากดวงเนตรข้างขวา กับ สีซาโนโอะ (Susanoo) เทพแห่งพายุ และท้องทะเล ที่เกิดขึ้นจากนาสิก ซึ่งเทพีแห่งดวงอาทิตย์ อมาเทราสึ นั่นเองที่เป็นตันกำเนิดของชาวญี่ปุนทั้งมวล ในคัมภีร์ โคจิกิ เล่าถึงตำนานการสร้างเผ่าพันธุ์คนญี่ปุนว่า เทพี อมาเทราสึ ได้ส่งหลานชายคือ นินิกิ โนะ มิโกโตะ (Ninigi no Mikoto) ลงมายังเกาะญี่ปุ่นเพื่อหว่านเมล็ดข้าว ต่อมาก็ได้สมรสกับ โคโนฮานาซากูยะ ฮิเมะ (Konohanasakuya Hime) ธิดาของเทพแห่งขุนเขา แล้วสืบเผ่าพงศ์ต่อไปอีก 3 รุ่น ตนกระทั่งถึง จิมมุ (Jimmu) และ Jimmu นั้นก็คือปฐมษัตริย์ในตำนานการสร้างอาณาจักรและผ่าพันธุ์ของชาวญี่ปุ่นขึ้นนั่นเอง และด้วยเหตุที่ปฐมกษัตริย์ จิมมุ นั้นเป็นผู้สืบสายพงศ์พันธุ์มาจากเทพี อมาเทราสึ เทพีแห่งด้วงอาทิตย์นี้เอง ชาวญี่ปุ่นจึงถือว่าตนก็คือเชื้อสายของเทพีแห่งดวงอาทิตย์ด้วยเช่นกัน

เป็นอย่างไรบ้าง แค่เริ่มปฐมบท ที่มาทำไมเค้าถึงชื่อ ญี่ปุ่น ก็มีความสลับซับซ้อนและน่าสนใจทีเดียว ซึ่งญี่ปุ่นเองเชื่อกันว่าเทพเป็นผู้สร้างประเทศนี้ ดังนั้นแล้ว สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น จึงมีวัฒธรรรม ธรรมเนียม ประเพณี ที่แฝงมาด้วยอยู่มากมายเลยทีเดียว รวมไปถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นต่อจากปฐมกษัตย์แห่งญี่ปุ่น เครื่องรางของขลังของชาติ ไตรราชกกุธภัณฑ์ เครื่องรางประจำราชวงศ์ญี่ปุ่น3 สิ่ง ที่เป็นที่ไม่มีใครเคยเห็นของจริงแม้แต่คนเดียว  เรื่องราวเหล่านี้ ฟังดูแล้วน่าสนใจมาก มีหลายอย่างที่เราได้เรียนรู้ไปด้วยกัน ทำให้เราเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้มากขึ้น ได้เรียนรู้และสนุกกับวัฒธรรมต่างๆ และซึมซาบวัฒธรรมของเค้าผ่านการบอกเล่าเรื่องราวไปพร้อมๆกัน

Reference :

  • History of Japan (รงรอง วงศ์โอบอ้อม เรียบเรียง 2562 : 26-30)
  • 日本古事記
  • gypzyworld.com (กรกิจ ดิษฐาน)
This entry was posted in ไม่มีหมวดหมู่. Bookmark the permalink.