Kinkakuji วัดคินคะคุจิ

kinkakuji

Kinkakuji วัดคินคะคุจิ

kinkakuji4

หนึ่งในวัดดังของโตเกียวที่ไม่ว่าใครต้องมายลโฉมความงดงามของปราสาททองเหลืองอร่ามเป็นขวัญตาสักครั้งวัดปราสาททองแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดโระคุอนจิ” (Rokuonji)เดิมเคยเป็นบ้านพักตากอากาศของรัฐบุรุษนาม ไซออนจิ คิทซึเนะ (Sionji kitsune)บ้านพักตากอากาศนี้เดิมเรียกกว่า “คิตะยะมะได” (Kiayama-dai)จนกระทั่งปี 1397 โชกุนอาชิคางะ โยชิมิซึ ได้ซื้อสถานที่แห่งนี้ต่อจาก ไซออนจิ และเปลี่ยนเป็นที่พำนักของโชกุนโดยตั้งชื่อว่า “คิตะยะมะโดโนะ” ต่อมาในปี ค.ศ.1419 บุตรชายของโชกุนอาชิคางะได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นวัดนิกายเซน สายรินไซ ก่อนอื่นมาจ่ายค่าเข้ากันก่อนนะคะ ค่าเข้า 400 เยน จัดไป

kinkakuji2

ตัวศาลาเป็นอาคาร 3 ชั้น แต่ละชั้นมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันไป โดยชั้นล่างจะเป็นโครงสร้างไม้ปิดด้วยผนังสีขาวเรียบเรียกกว่าสถาปัตยกรรมแบบ ชินเด็น Shinden-tsukuri แบบเดียวกับที่ใช้สร้างพระราชวังในสมัยเฮอัน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและรูปปั้นของโชกุนโยชิมิซึเดิมใช้เป็นที่รับรองแขกของโชกุน ชั้นที่สอง เป็นสถาปัตยกรรมแบบบุกเก Buke-tsukuri สร้างตามแบบฉบับของบ้านซามูไร ส่วนชั้นบนสุดของศาลา เป็นทรงแบบวัดเซ็น Kukkyo-cho ใช้เป็นที่จัดพิธีชงชาและพบปะกับบรรดาสหายของท่านโชกุนชั้นสองและสามนั้นปิดด้วยแผ่นทองคำสีทองเหลืองอร่าม ยอดบนหลังคามีรูปปั้นนกฟินิกซ์สีทองประดับอยู่ ปราสาททองตั้งโดดเด่นเป็นสง่าฮยู่กลางสระน้ำขนาดใหญ่ทีมีการตกแต่งทัศนียภาพตามแบบฉบับของสวนเซ็น

kinkakuji1

เดินเลยจากตัวปราสาททองเข้าไปด้านในจะเป็นซุ้มสำหรับจำหน่าย โอมาโมริ หรือเครื่องรางใครสนใจก็ซื้อกลับไปเป็นที่ระลึกกัน

kinkakuji7
kinkakuji8

ได้ถัดจากซุ้มเครื่องรางจะเป็นน้ำตกเล็กๆที่ท่านโชกุนเคยใช้ในพิธีชงชา พอเดินขึ้นเนินไปจะเป็นร้านน้ำชาเล็กๆท่ามกลางต้นสน

kinkakuji5

ก่อนถึงทางออกจะมีวิหารไม้หลังเล็ก ด้านในเป็นที่ประดิษฐานรูปแกะสลักเทพฟุโดเมียวโอซึ่งเชื่อกันว่าสร้างขึ้นโดยพระโคโบ ไดชิ สามารถกราบไหว้และเขียนคำอธิฐานลงบนแผ่นไม้ เอมะ แล้วผูกเอาไว้เพื่อขอพรได้

kinkakuji10
kinkakuji6

*จุดเด่นของวัดนี้คงจะหนีไม่พ้นอาคารสีทองสามชั้นซึ่งตั้งอยู่กลางสระน้ำขนาดใหญ่บ้างก็เรียกว่า ปราสาททองพลับพลาทอง หรือศาลาทองซึ่งไม่ว่าใครจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ตัวปราสาททองนี้ยังคงสวยงามสมคำล่ำลือแม้ในอดีตตัวศาลาแห่งนี้จะเคยถูกลอบวางเพลิง เมื่อปี พ.ศ.2493 โดยพระภิกษุที่บวชอยู่ในวัดนี้พระรูปนี้เข้ามาบวชในวัดนี้เพราะหลงใหลในความวิจิตรสวยงามของวิหารและคิดว่าการที่จะเข้าถึงแก่นแท้ของความงามให้ได้นั้น จะต้องเผาทำลายวัตถุแห่งความงามนั้นไปด้วย ด้วยเหตุนี้จึงได้สร้างศาลาขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2498

kinkakuji3
kinkakuji9

ก่อนออกจากวัด ก็จะมีร้านขายของที่ระลึก และขนม นม เนย เพียบ มีให้ชิมด้วย สังเกตจะมีคนรุมล้อมชิมเพียบ กว่าจะตัดสินใจซื้อก็เกือบอิ่มเลย หุหุ ขนมสุดฮิตก็จะเป็นขนมขึ้นชื่อของเกียวโต เป็นแป้งแผ่นบางๆ ข้างในไส้ถั่วแดง รสหวานกำลังพอดี ฮอตฮิตก็ต้องรสชาเขียว ชิมไปชิมมา..ชักเกรงใจ ซื้อกลับมากินต่ออีกสักกล่องนึง…จัดไป

kinkakuji12

การเดินทางไป วัดคินคะคุจิ

รถบัสสาย 12,59 ลงที่ป้าย Kinkakuji-mae สาย 101,102,204,205 ลงที่ป้าย Kinkakuji-michi เดินต่ออีก 5 นาที เวลาเปิด ทุกวัน 09.00-17.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 400 เยน เด็ก 300 เยน

เครื่องรางนำโชค จากวัดคินคะคุจิ

kinkakuji-omamori1

kinkakuji-omamori3

kinkakuji-omamori2

kinkakuji-omamori4